เรียนรู้ Agile part 3

Phai Panda
1 min readDec 2, 2018

--

เมื่อมี product backlog เท่ากับว่าทั้งหมดนี้คืองานที่ต้องทำ และเป็นหน้าที่ของ product owner เลือก backlog บางส่วนเข้า sprint backlog (ในกรณีที่มีเยอะ) เพื่อให้ทีมนำไปสร้างหรือพัฒนาต่อไป

backlog ที่ถูกเลือกเข้า sprint backlog นั้น product owner และทีมต้องมั่นใจว่าทำได้ภายใน sprint หาไม่แล้ว

- มิเช่นนั้นก็ต้องมาเลือกกันใหม่

- มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นภาระแก่ sprint ถัดไป

- มิเช่นนั้นก็จะไม่เกิดงานตามช่วงเวลาที่ต้องการ

ดังนั้น product owner ต้องเลือก backlog บางส่วนเหล่านี้ที่มีความสำคัญสูงสุดไปยังความสำคัญน้อยสุด อีกทั้งควรรับฟังและให้เวลากับ non-functional (ปัญหา, เวลาที่ใช้ศึกษาเทคโนโลยี อื่นใดที่จะต้องเตรียมเข้า sprint แต่ไม่ใช่สิ่งที่ product owner ต้องการโดยตรง) ที่จะเกิดขึ้นด้วยนะครับ

Agile โดย Scrum แบ่งคนออกเป็น 3 หน้าที่เท่านั้น ได้แก่

1. product owner เขาคือเจ้าของโปรเจ็กต์ตัวจริงที่จะบอก ใช่ หรือ ไม่ใช่ บอก ได้ หรือ ไม่ได้ สิทธิ์ขาดอยู่ที่เขา

2. scrum master ผมเรียกว่ากรรมการ ผู้ที่จะคอยช่วยให้ product owner และทีม (team) ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น คนนี้ส่วนตัวมองว่าต้องเป็นคนเก่งทั้งศาสตร์และศิลป์ ร้ายกาจเอามากๆ

3. ทีม (team) ประกอบไปด้วยคนเขียนโปรแกรม คนทดสอบโปรแกรม นักออกแบบ UI/UX และอื่นๆทั้งหลาย (workers) ที่จะเป็นคนทำชิ้นงานให้เกิดขึ้น

จากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ช่วงแรกของการสร้างทีมคือเรายังไม่รู้จักกันดีนัก ยังเขิน ยังอาย ยังยึดตำแหน่งทรงเกียรติครอบหัวอยู่ จำเป็นต้องละลายพฤติกรรมให้รู้จักมักคุ้นกันก่อน ผมมองว่าเหมือนพี่เหมือนน้อง ให้ศักดิ์ศรีกันพองามเป็นพี่เป็นน้อง จะต้องแชร์ความรู้กัน แชร์ทักษะที่มี

ชอบมากคำนี้ “เชื่อว่าทุกคนเขียนโค้ดได้ แค่ไม่รู้ตัวเท่านั้น”

ต้องขอบคุณคุณ Roof ที่ช่วยเป็น scrum master ให้ และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นฐานความเข้าใจ โดยเชื่อว่าทุกคนสามารถเขียนโค้ดได้ เหตุนี้ทีมจึงมีทัศนคติที่ดีต่อกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน คือค่อยๆสอนกัน รู้จักกันมากขึ้น

ซึ่งผมมองว่ามันสำคัญนะ การจะให้ tester มา dev หรือจะให้ dev ไป test ใน role จริงๆของตำแหน่งงานที่รับกันอยู่คือแทบจะไม่ยุ่งกันเลย ฉันทำของฉันไป เธอก็ทำของเธอไป แล้วก็ตั้งกำแพงรบกัน เป็นศัตรูกัน ทั้งที่ทำงานชิ้นเดียวกัน เชื่อว่าหลายคนประสบอยู่หรือเคยเจอมาแล้ว ก็เข้าใจว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้แหละ แต่ผมว่าไม่น่าใช่

ทำไมไม่ออกไปก้วนกันข้างนอก office
ไปทานข้าวกัน
เปิดใจรับฟังชีวิตและความตั้งใจของอีกฝ่าย
ให้ scrum master พาไปเดินเที่ยว จีบน้ำชากาแฟ

คุณอย่ามองว่าเป็นเรื่องล้างผลาญเวลาและเงินของบริษัทสูญเปล่า คุณควรมองว่า ทีม สำคัญกว่าตัวคุณเอง ซึ่งมีผลต่องานที่ได้ ทำให้บริษัทดำรงต่อไปได้

การที่เราเดินเข้าหากลุ่มคนในบริษัทก็เท่ากับยอมรับไปในตัวว่าอยากทำงานร่วมกันกับพวกเขา ชีวิตเราไม่ได้ยิ่งใหญ่ต้องให้คนมาเคารพกราบไหว้ มี tester ที่รู้มือกัน มี dev ที่รู้ใจกัน มีทีมที่แค่มองตาก็รู้ว่าปัญหาอะไรบ้างจะเกิดขึ้นหากต้องทำ backlog ใบนี้ นี่สิความสุขแท้ใจในที่ทำงาน กลับบ้านไปก็จะได้ลันลา-ดั๊กลาส~ดีจะตาย

พี่ชายผมสอนเสมอว่า เรียนรู้ให้เรียนจากพื้นฐาน งานจริง 10% พื้นฐาน 90% และจงฝึกฝนการอธิบายความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเขียนหรือพูดให้วาดภาพประกอบด้วย การนึกคิดเอาเองไม่ช่วยเรื่องการถ่ายทอด การไม่ถ่ายทอดเท่ากับอยากเก็บไว้กับตัว อยากเก็บไว้กับตัวคือทำงานคนเดียว ไม่สนุกเลย ทำงานคนเดียวอาจทำได้ไวแต่ไปได้ไม่ไกลสู้ทำงานเป็นทีมไม่ได้หรอกครับ กุปี้ๆ

--

--

No responses yet